โฉนดที่ดิน บอกอะไรเราบ้าง
เวลาเราดูโฉนดที่ดิน ความหมายของแต่ละจุดคืออะไรบอกอะไรเราบ้าง ส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ตรงไหน เราไปดูกันนะคะ
มาเริ่มจาก
️ หมายเลข 1
ตรงนี้แสดงประเภทโฉนด ว่าเป็นประเภท นส4,นส4ก,นส4ข นส4ค หรือ นส4จ
️ หมายเลข 2
ประทับตราสีแดง ตัวจะเล็กๆหน่อย จะแสดงว่า โฉนด แปลงนี้ แยกมาจาก โฉนดแปลงหลัก เลขที่ อะไร
️หมายเลข 3
แสดงตำแหน่งที่ดินแปลงนี้ ว่า เป็นโฉนดเลขที่อะไร ตัวอย่างแปลงนี้ โฉนดเลขที่อะไร ที่ดิน ตั้งอยู่ ตำบล บ้านนา อำเภอ แกลง จังหวัดระยอง
️หมายเลข 4
ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ด้านหน้าโฉนด คือ #ชื่อผู้ที่ได้รับโฉนดเป็นคนแรก อาจจะใช่ หรือ ไม่ใช่ เจ้าของปัจจุบัน ก็ได้ เป็นเพียง บอกว่า ผู้ได้รับโฉนด คนแรกเท่านั้น
️หมายเลข 5
แสดงมาตราส่วน อาจเป็น
1:1000,1:2000,1:4000 หมายถึง ถ้าวัดในโฉนด ด้วยไม้บรรทัด ทั่วไป 1 ซม เท่ากับของจริง 1000 ซม หรือ 10 เมตร นั่นเอง ( มาตราส่วน 1:1000)
️หมายเลข 6
แสดงจำนวน เนื้อที่ดิน หน่วย ไร่-งาน-ตรวา แต่เป็น เนื้อที่ตอนได้รับโฉนด แต่ถ้าจะตรวจสอบเนื้อที่จริง ตะต้องดูด้านหลังโฉนดด้วย เพราหากมีการ ขาย แบ่งแปลง หรือหักเป็นทางสาธารณะ หรือภาระจำยอม หรือสิทธิเก็บกิน เนื้อที่ไม่เท่าเดิม และจะมีรายละเอียดอยู่ด้านหลัง
️หมายเลข 7
แสดงทิศ ตำแหน่งที่ดิน ซึ่งโฉนด ทุกใบ รูปที่ดิน จะชี้ไปที่ ทิศเหนือ ขึ้นบน เท่านั้น
️หมายเลข 8
แสดงแผนผัง รูปแปลง ว่าที่ดินเรามีลักษณะ อย่างไร ติดทางสาธารนะ หรือไม่ ข้างเคียง ติดต่อกับ เลขที่ดิน อะไร ในแผนผังจะบอก
8.1 เลขที่ดิน ต้องตรงกับ ระวาง กรมที่ดิน
8.2 เลขที่ดินข้างเคียง ที่ติดต่อกัน
8.3 เลขหมุดที่ดิน ต้องตรงกับหมุดที่ปักอยู่แต่ละจุดในที่ดินจริง
และอีกด้านที่สำคัญ คือทางสาธารณะประโยชน์
️หมายเลข 9
แสดงวันที่ออกโฉนดแปลงนี้ ว่าออกมาเมื่อ วันที่ เดือน ปี
️หมายเลข 10
ลายเซ็นเจ้าพนักงานที่ดิน พร้อมประทับตรากรมที่ดิน
️หมายเลข 11
รหัส แบบพิมพ์ ที่ออกจากโรงพิมพ์โฉนด เพื่อใช้สำหรับ Run จำนวนโฉนด ที่ถูกเบิกไปเขียนโฉนด
เมื่อเจ้าของที่ดินหรือผู้มีชื่อในเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ( เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข.) ตายลงไป ที่ดินแปลงนั้นก็จะเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตาย โดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมมี ๖ ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้
๑. ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
๒. บิดา มารดา
๓. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
๔. พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน
๕. ปู่ ย่า ตา ยาย
๖. ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง ๖ ลำดับ
โดยผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ในกรณีมีเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน น.ส. ๓ ข. และสำนักงานที่ดินอำเภอ ในกรณีมีเอกสารเป็น น.ส.๓, น.ส.๓ ก. ถ้าท้องที่ใดที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามกฎหมายที่ดินแล้ว ไม่ว่าที่ดินจะเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.๓ หรือ น.ส. ๓ ก.,น.ส.๓ ข. จะต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่
หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก คือ
โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
บัตรประจำตัว
ทะเบียนบ้าน
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
พินัยกรรม (ถ้ามี)
ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ
ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป คือ
คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก
ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก
โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
ค่าคำขอ แปลงละ ๕ บาท
ค่าประกาศมรดก แปลงละ ๑๐ บาท
ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ ๕๐ บาท
ค่าจดทะเบียนโอนมรดก ร้อยละ ๒ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ ๐.๕
เป็นองค์กรชั้นนำในการคุ้มครองสิทธิด้านที่ดิน การจัดการข้อมูล ระบบแผนที่ โดยใช้เทคโนโลยี่ ที่ทันสมัย และพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างมีธรรมาภิบาล
พันธกิจ
ยุทธศาสตร์
ถ้าท่านมีโฉนด บ้าน ที่ดิน คอนโด ตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ และต้องการใช้เงินเพื่อมาหมุนเวียนในงาน หรือ ธุรกิจของท่าน เรายินดีให้บริการเปลี่ยนโฉนดมาเป็นเงินสดได้เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในงาน หรือธุรกิจของท่านได้นะคะ ให้ยอดสูง ไม่ผ่านนายหน้า นายทุนทำเอง ดูงานเอง ถ้าตกลงกันได้จ่ายเงินทันที่ เมื่อโฉนดออกมาแล้ว
สนใจติดต่อ 081-889-9393 คุณพร
รับจำนองบ้าน รับขายฝากบ้าน ที่ดิน คอนโด ทาวเฮ้าส์ ตึกแถว หลักทรัพย์สวย ทำเลดี บ้านสวย บ้านใหม่ ดอกเบี้ยขายฝากเริ่มต้น 1 % ต่อเดือน รับวงเงินตั้งแต่ 2 แสน ถึง 4 ล้าน รับเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้นนะคะ
ธุรกิจการรับจำนองบ้าน รับขายฝากบ้าน ของ homequickcash2u
homequickcash2u เป็นธุรกิจที่ให้บริการสินเชื่อแก่เจ้าของบ้าน โดยนำบ้านมาเป็นหลักประกัน มีบริการหลัก 2 ประเภท ดังนี้
1. รับจำนองบ้าน:
เจ้าของบ้านนำบ้านมาเพื่อขอสินเชื่อ
เจ้าของบ้านยังคงอาศัยอยู่ในบ้านได้
อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระร้อย15 ต่อปี ตามกฏหมาย
2. รับขายฝากบ้าน:
เจ้าของบ้านโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านให้กับ homequickcash2u
เจ้าของบ้านมีสิทธิไถ่ถอนบ้านคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด (โดยทั่วไป 1-10 ปี)
homequickcash2u เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านระหว่างช่วงเวลาไถ่ถอน
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับ homequickcash2u ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี
ข้อดีของการใช้บริการ homequickcash2u:
ได้รับเงินทุนโดยไม่ต้องขายบ้าน
อัตราดอกเบี้ยต่ำ น่าเชื่อถือ
บริการรวดเร็ว สะดวก ได้รับเงินภายใน 1 วัน
มีทีมงานมืออาชีพให้คำปรึกษา
ข้อเสียของการใช้บริการ homequickcash2u:
เสียค่าธรรมเนียมการค่าจำนอง/ขายฝาก/ดอกเบี้ย
ความหมายของการขายฝาก ปี 2567
การขายฝากในปี 2567 ยังคงมีหลักการสำคัญคล้ายคลึงกับปีก่อนๆ คือ เป็นการทำนิติกรรมสัญญาที่ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์สิน) โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เช่น ที่ดิน บ้าน รถยนต์) ให้แก่ผู้รับซื้อฝาก
โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ:
ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งระยะเวลาขั้นต่ำตามกฎหมายคือ 1 ปี และขั้นสูงไม่เกิน 10 ปี
ผู้รับซื้อฝากมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน
เพิ่มเติมในปี 2567 มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการขายฝาก ดังนี้
เพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้รับซื้อฝากที่เอาเปรียบผู้ขายฝาก เช่น การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา กีดกันการไถ่ถอน
กำหนดให้ผู้รับซื้อฝากแจ้งข้อมูลการขายฝากต่อกรมที่ดิน
เปิดช่องทางให้ผู้ขายฝากร้องเรียนออนไลน์
ข้อดีของการขายฝาก:
ผู้ขายฝากได้รับเงินทุน
ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน
ผู้รับซื้อฝากมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน
ข้อเสียของการขายฝาก:
ผู้ขายฝากอาจสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ผู้ขายฝากอาจถูกเอาเปรียบ
ผู้รับซื้อฝากอาจสูญเสียเงินทุน
สรุป:
การขายฝากเป็นทางเลือกหนึ่งในการหาเงินทุน แต่ผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขต่างๆ ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
แหล่งข้อมูล:
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 - 484
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2560
เว็บไซต์กรมที่ดิน: https://dol.go.th/