บัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านตัวจริง ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อ หรือ เปลี่ยนนามสกุล ให้เตรียมใบ
เปลี่ยนชื่อตัว และนามสกุลมาด้วยนะคะ
ตรียมโฉนดตัวจริง พร้อมสัญญาซื้อขายที่ทางกรมที่ดินออกให้นะคะ
ถ้าทางลูกค้ามีคู่สมรสให้เตรียมบัตรประชาชน+ทะเบียน+ทะเบียนสมรส ตัวจริง และให้พาคู่สมรส
มาเซ็นต์ยินยอมที่กรมที่ดินด้วยนะครับ
กรณีเป็นอาคารชุด หรือ คอนโด ให้ทางลูกค้าเตรียมใบปลอดหนี้ มาด้วยโดยสามารถขอได้จาก
นิติของโครงการนั้น นะคะ
แผนที่ตั้งของหลักทรัพย์ รูปถ่ายหลัก ถ้าเป็นบ้าน คอนโด ต้องถ่ายรูปทั้งภายใน และภายนอก
และแชร์ loction ของหลักทรัพย์ มาด้วยนะคะ
แจ้งวงเงินที่ต้องการจะขอสินเชื่อ และแจ้งราคาซื้อของของทรัพย์ ที่ต้องการจะของสินเชื่อ ด้วย
นะคะ
ใบอนุญาตขอสิ่งปลูกสร้าง ถ้ามี และแจ้งรายละเอียดทรัพย์ ว่าเนื้อที่เท่าไร กี่ชั้น ถ้าเป็นที่ดินเปล่า
ต้องแจ้งว่าหน้ากว้างเท่าไร ติดถนนใหญ่ หรือ ถนนซอย
ถ้าท่านมีโฉนด บ้าน ที่ดิน คอนโด ตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ และต้องการใช้เงินเพื่อมาหมุนเวียนในงาน หรือ ธุรกิจของท่าน เรายินดีให้บริการเปลี่ยนโฉนดมาเป็นเงินสดได้เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในงาน หรือธุรกิจของท่านได้นะคะ ให้ยอดสูง ไม่ผ่านนายหน้า นายทุนทำเอง ดูงานเอง ถ้าตกลงกันได้จ่ายเงินทันที่ เมื่อโฉนดออกมาแล้ว
สนใจติดต่อ 081-889-9393 คุณพร
รับจำนองบ้าน รับขายฝากบ้าน ที่ดิน คอนโด ทาวเฮ้าส์ ตึกแถว หลักทรัพย์สวย ทำเลดี บ้านสวย บ้านใหม่ ดอกเบี้ยขายฝากเริ่มต้น 1 % ต่อเดือน รับวงเงินตั้งแต่ 2 แสน ถึง 4 ล้าน รับเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้นนะคะ
การดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินที่ถูกทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์
1.สภาพทั่วไป
ปัจจุบันไม่มีกฎหมายกำหนดสิทธิในการถือครองที่ดินเป็นเหตุให้มีการซื้อที่ดินไว้แล้ว ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ อีกทั้งสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้มีอสังหาริมทรัพย์รอการขายและทิ้งร้างเป็นจำนวนมากสำหรับการสำรวจที่ดินที่ถูกทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ นั้น กระทรวงมหาดไทยได้มีการสำรวจเป็นประจำทุกปี โดยให้แต่ละจังหวัดรายงานผลการสำรวจให้ทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี
ผลดีของการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน
1. เป็นการเพิ่มผลผลิตทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการสร้างงาน ส่งผลให้เพิ่มพูนรายได้
หรือลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว และท้องถิ่น
2. ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
3. ป้องกันปัญหาการบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของผู้อื่น
4. เมื่อประชาชนมีรายได้พอเพียง ก็จะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของประเทศโดยรวม
ผลเสียของการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน ก่อให้เกิดปัญหาสรุปได้ ดังนี้
1. ปัญหาทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากผลผลิตทางเกษตร การทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เป็นเหตุให้ไม่มีการเพิ่มผลผลิตทางเกษตร หรือผลผลิตลดลงไม่เพียงพอแก่การอุปโภค บริโภค ส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
2. ปัญหาทางสังคมและการเมือง ด้วยเหตุที่มีการกว้านซื้อที่ดินไว้แล้วไม่ทำประโยชน์ จึงมีผลกระทบถึงประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกร ซึ่งไม่มีที่ดินทำกิน ก่อให้เกิดการบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินที่เจ้าของทอดทิ้ง ก่อให้เกิดปัญหาแย่งชิงที่ดินทำกิน เกิดความไม่สงบสุขภายในสังคม และในกรณีที่มีการเข้าไปบุกรุกแผ้วถางที่ดินของรัฐ ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชน เป็นปัญหาทางการเมือง
2. กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
2.1 มาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ บุคคลใดมีสิทธิในที่ดินตาม โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกินสิบปีติดต่อกัน
(2) สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกินห้าปีติดต่อกันให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือที่ปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป
2.2 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินที่ถูกทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าให้ตกเป็นของรัฐ พ.ศ. 2522 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้สรุปได้ว่า
2.2.1 ให้จังหวัดสำรวจแล้วรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ภายในเดือนมกราคมของทุกปีว่ามีที่ดินแปลงใดถูกทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า
2.2.2 การพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดมีผู้ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ให้พิจารณาถึงการทำประโยชน์เป็นประการสำคัญ เพียงแต่ล้อมรั้วหรือเสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่ไม่ทำประโยชน์ ย่อมถือว่าเป็นการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ส่วนที่ดินประเภทใดถือว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
สำหรับที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านหรือในเมืองแม้จะยังไม่ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัย แต่เจ้าของยังมีเจตนายึดถือเพื่อตนอยู่ ก็ให้ถือว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่ได้ทำประโยชน์แล้วโดยสภาพ
2.2.3 เมื่อปรากฏว่ามีที่ดินที่ถูกทอดทิ้งฯ ครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 6
- ให้จังหวัดหรืออำเภอแล้วแต่กรณี ทำหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดิน และผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้เช่า ผู้รับจำนอง ฯลฯ เพื่อให้เข้าทำประโยชน์ภายใน 3 เดือน นับแต่ได้รับแจ้ง
- หากพ้นกำหนดแล้วไม่ทำประโยชน์ ให้จังหวัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง แล้วทำความเห็นเสนอกรมที่ดิน เพื่อส่งเรื่องให้อัยการฟ้องร้องดำเนินคดีทางศาลต่อไป
2.3 ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 เรื่องขอให้เจ้าของที่ดินที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์รีบเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน
3. มาตรการดำเนินการตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้ทุกจังหวัดทำการสำรวจที่ดินที่ถูกทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ และรายงานผลให้ทราบเป็นประจำทุกปี ปรากฏตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0728/ว 3637 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2544
4. แนวทางแก้ปัญหาการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน
4.1 มาตรการระยะสั้น
4.1.1 ทำการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชนทราบมาตรการทางกฎหมาย ตามมาตรา ๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อให้ทราบถึงผลดีผลเสียในการใช้ที่ดินหรือทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน
4.1.2 ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกถ้อยคำผู้รับโอนแล้วแต่กรณี ดังนี้
ที่ดินตามโฉนดนี้ หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินสิบปีติดต่อกัน อาจถูกศาลสั่งเพิกถอนให้ตกเป็นของรัฐได้ หรือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์นี้ หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินห้าปีติดต่อกัน อาจถูกศาลสั่งเพิกถอนให้ตกเป็นของรัฐได้
4.2 มาตรการระยะยาว
4.2.1 ปัจจุบันได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นมาตรการทางภาษี โดยมีหลักเกณฑ์สรุปได้ว่า เจ้าของที่ดินรายใดได้ทำประโยชน์ในที่ดินของตนแล้วจะเสียภาษีให้รัฐน้อยกว่าเจ้าของที่ดินซึ่งปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งหากพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับจะแก้ปัญหาการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดินได้ทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเนื่องจากการควบคุมโดยมาตรการทางภาษี นอกจากจะเป็นการเร่งรัดให้เจ้าของทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว ยังเป็นการป้องกันมิให้มีการกว้านซื้อที่ดินไว้โดยไม่ทำประโยชน์
4.2.2 ขอข้อมูลการตรวจสอบการทำประโยชน์ในที่ดินจากองค์การบริหารส่วนตำบลเนื่องจาก เป็นหน่วยงานที่ต้องตรวจสอบการทำประโยชน์ในที่ดินเพื่อประกอบการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่เป็นประจำทุกปี
-------------------------------
สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
11 กรกฎาคม 2545
ธุรกิจการรับจำนองบ้าน รับขายฝากบ้าน ของ homequickcash2u
homequickcash2u เป็นธุรกิจที่ให้บริการสินเชื่อแก่เจ้าของบ้าน โดยนำบ้านมาเป็นหลักประกัน มีบริการหลัก 2 ประเภท ดังนี้
1. รับจำนองบ้าน:
เจ้าของบ้านนำบ้านมาเพื่อขอสินเชื่อ
เจ้าของบ้านยังคงอาศัยอยู่ในบ้านได้
อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระร้อย15 ต่อปี ตามกฏหมาย
2. รับขายฝากบ้าน:
เจ้าของบ้านโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านให้กับ homequickcash2u
เจ้าของบ้านมีสิทธิไถ่ถอนบ้านคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด (โดยทั่วไป 1-10 ปี)
homequickcash2u เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านระหว่างช่วงเวลาไถ่ถอน
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับ homequickcash2u ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี
ข้อดีของการใช้บริการ homequickcash2u:
ได้รับเงินทุนโดยไม่ต้องขายบ้าน
อัตราดอกเบี้ยต่ำ น่าเชื่อถือ
บริการรวดเร็ว สะดวก ได้รับเงินภายใน 1 วัน
มีทีมงานมืออาชีพให้คำปรึกษา
ข้อเสียของการใช้บริการ homequickcash2u:
เสียค่าธรรมเนียมการค่าจำนอง/ขายฝาก/ดอกเบี้ย
ความหมายของการขายฝาก ปี 2567
การขายฝากในปี 2567 ยังคงมีหลักการสำคัญคล้ายคลึงกับปีก่อนๆ คือ เป็นการทำนิติกรรมสัญญาที่ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์สิน) โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เช่น ที่ดิน บ้าน รถยนต์) ให้แก่ผู้รับซื้อฝาก
โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ:
ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งระยะเวลาขั้นต่ำตามกฎหมายคือ 1 ปี และขั้นสูงไม่เกิน 10 ปี
ผู้รับซื้อฝากมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน
เพิ่มเติมในปี 2567 มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการขายฝาก ดังนี้
เพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้รับซื้อฝากที่เอาเปรียบผู้ขายฝาก เช่น การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา กีดกันการไถ่ถอน
กำหนดให้ผู้รับซื้อฝากแจ้งข้อมูลการขายฝากต่อกรมที่ดิน
เปิดช่องทางให้ผู้ขายฝากร้องเรียนออนไลน์
ข้อดีของการขายฝาก:
ผู้ขายฝากได้รับเงินทุน
ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน
ผู้รับซื้อฝากมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน
ข้อเสียของการขายฝาก:
ผู้ขายฝากอาจสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ผู้ขายฝากอาจถูกเอาเปรียบ
ผู้รับซื้อฝากอาจสูญเสียเงินทุน
สรุป:
การขายฝากเป็นทางเลือกหนึ่งในการหาเงินทุน แต่ผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขต่างๆ ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
แหล่งข้อมูล:
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 - 484
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2560
เว็บไซต์กรมที่ดิน: https://dol.go.th/